ข้อควรระวังการปั่นจักรยานในกรุงเทพฯ

ข้อควรระวังการปั่นจักรยานในกรุงเทพฯ
ปัจจุบันสังคมเมืองประสบปัญหาการจราจรติดขัดมากขึ้นทุกวัน ทั้งๆ ที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงก็ไม่ได้ลดลง แต่กลับมีรถยนต์บนถนนเพิ่มมากขึ้น ในปีนี้สังคมเมืองใหญ่ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย จึงยกระดับการคาดหวังจาก “ปั่นจักรยาน” เพราะเชื่อว่าถ้าสามารถจูงใจให้คนทำงานลดใช้รถยนต์ส่วนตัวเพิ่มขึ้น ย่อมจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ สู่ชั้นบรรยากาศด้วย
ความสะดวกสบายในการเดินทางโดยอาศัยพาหนะส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ จักรยานยนต์ นับวันก็ยิ่งสร้างปัญหามลพิษทางอากาศ และส่วนมากก็รับรู้ว่าคือสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ โดยเพาะในสังคมเมืองใหญ่ยังพบว่า ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพทั้งแก่ผู้เดินทางและชุมชนที่มีเส้นทางผ่าน รวมถึงทำให้การจราจรติดขัด และสร้างอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น
การปั่นจักรยานไปทำงานในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานครนั้นไม่ง่ายดายเหมือนกัน เพราะต้องอาศัยความกล้า หูตาก็ต้องไว มีร่างกายแข็งแรงที่พร้อมขับขี่ ข้อสำคัญ การตัดสินใจพาตนเองไปเสี่ยงต่ออันตรายบนท้องถนนที่มากด้วยรถยนต์ และจักรยานยนต์ หากผู้ใดยังปั่นได้ไม่แข็งแรง ก็ควรฝึกฝนในระยะทางที่ใกล้ๆ ในซอยแถวบ้านก่อน และโปรดจำไว้ว่า ปั่นบนถนนใหญ่นั้น ควรไปเป็นกลุ่มจะปลอดภัยกว่าไปคันเดียว
ข้อควรระวังการปั่นจักรยานในกรุงเทพฯ
1. ระยะอาน เมื่อนั่งแล้วต้องสามารถเหยียดเท้ายันพื้นได้ แบบเขย่งหรือปลายเท้าก็ได้ ห้ามเท้าลอยเพราะเวลาเบรก หรือ หยุดกะทันหันจะไม่สามารถทรงตัวอยู่ได้ จะล้มเอา ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่ใช่ระยะเดียวกับการ fitting
2. หน้ากากกันฝุ่น เพื่อป้องกันฝุ่นละออง ควัน กลิ่น จะป้องกันได้ดีกว่าผ้าพับ ทนร้อนหน่อยแต่เดี๋ยวก็ชิน แล้วจะรู้สึกว่าอากาศที่สูดเข้าไปสะอาดขึ้นเยอะเลย
3. ติดแตรนก แตรไฟฟ้า เสียงจะดังกว่ากระดิ่งมาก เสียงกระดิ่งจะไม่มีใครสนใจ และไม่ได้ยินเพราะเสียงบนท้องถนนมันดังมากอยู่แล้ว (กระดิ่งผมคิดว่าเหมาะกับปั่นในสวนมากกว่า)
4. ควรใส่หมวก
5. กระจกมองหลัง แล้วแต่ถนัด ยิ่งใหญ่ยิ่งดี แต่ควรมองหลังทุกครั้งที่เลี้ยว
6. ติดไฟหน้า-หลัง (ขี่กลางคืน หรือเช้าตรู่)

This entry was posted in เรื่องธุรกิจ and tagged . Bookmark the permalink.

Comments are closed.