ช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้น โดยไม่ต้องพึ่งยาเคมี

นอกจากยาแล้ว เรายังต้องให้ความช่วยเหลือด้านอื่นๆอีก เด็กสมาธิสั้น ทำให้ครอบครัวมีความเครียดได้มาก หากไม่ช่วยเหลือให้ถูกทาง เด็กอาจจะเป็นตัวรบกวนความสงบสุขในครอบครัว พ่อแม่จำเป็นต้องช่วยให้เด็กสามารถควบคุมพฤติกรรมได้ โดยการจัด กิจกรรมที่บ้านที่เด็กต้องทำในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ และ กิจกรรมในวันหยุด ที่เด็กต้อง ทำทุก ๆ วัน ให้เป็นไปอย่าง สม่ำเสมอ ตามเวลาที่กำหนดไว้ หรือที่เรียกว่า “ตารางกิจวัตรประจำวัน” และที่สำคัญที่สุด ต้องมีกำหนดเวลาการเล่นเกมส์ ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นยาเสพติดของเด็ก หากพ่อแม่ไม่ควบคุมให้เป็นไปตามตารางเวลา จะเสียใจภายหลังเพราะคุมไม่ได้

ตารางเวลาบางครั้งต้องยืดยุ่น เมื่อเด็กไม่สบายหรือมีอาการเครียดมาจากโรงเรียน เมื่อเด็กทำได้ตามเวลาต้องไม่ลืม “ชมเชย”

พ่อ-แม่ มักให้ความสนใจที่จะ ดุว่า เด็กกลุ่มนี้เมื่อทำผิด เช่น รบกวนผู้อื่น พูดแล้วไม่ฟังและไม่ทำ เป็นต้น แต่ที่จริงแล้วพ่อแม่ควรเปลี่ยนมาให้ความสนใจ เมื่อลูกมี พฤติกรรมที่ดี ให้คำชม กอดลูก หรือให้รางวัลเป็นพิเศษตามสมควร การทำเช่นนี้จะช่วยส่งเสริมให้เด็กเกิด ความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและรักคุณแม่/คุณพ่อ

ไม่ควรใช้ การตี เพื่อแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องของเด็กสมาธิสั้นกลุ่มนี้ แต่ควรใช้วิธีอื่นที่จะได้ผลมากกว่า เช่น หากลูกซุกซนมาก จนพ่อแม่หงุดหงิด ควรทำเป็น ไม่ใส่ใจและเดินหนี ไปเสีย หากลูกตื่นเต้นมากเกินไป ให้หากิจกรรมอื่นมาเบี่ยงเบนความสนใจ หากลูกแสดงความ ก้าวร้าว ให้แยกลูกออกมา ให้ลูก นั่งอยู่เงียบ ๆ คนเดียว สักพักจนกว่าจะสงบลง แล้วค่อยพูดถึงพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องรวมทั้งผลของมัน เมื่อลูกสงบลงแล้ว

การดูแลเลี้ยงดูและช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้น

ทางการแพทย์เรียกว่า การปรับพฤติกรรมเด็กและพฤติกรรมพ่อแม่ จะต้องทำควบคู่กับการใช้ยาซึ่งเด็กจะมีอาการดีขึ้นจนหายได้ในที่สุด

การปรับพฤติกรรมพ่อแม่และเด็ก ทำไม่ยาก แต่ไม่ง่าย พ่อแม่ต้องเข้า ร่วมกิจกรรมกับเราและเรียนรู้วิธีทำ มิใช่สุ่มสี่สุ่มห้าทำเอง โรงพยาบาลศิริราช จะจัดปีละหนึ่งถึงสองครั้งและ ชมรมผู้ปกครองฯ จัดปีละหลายครั้ง เพื่อให้สมาชิกเรียนรู้ และ นำไปปฎิบัติได้อย่างถูกต้องและให้ผลดีกับลูก

This entry was posted in สินค้า and tagged . Bookmark the permalink.

Comments are closed.